สิทธิพิเศษ.....ฟรี

ถ้าท่านสมัครเป็นสมาชิกผู้ติดตาม

เมื่อมีบทความใหม่ ระบบจะส่งให้ท่านโดยตรง









การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
การกำหนดตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปริญญาทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ปริญญาอะไรบ้าง

๑.ปริญญาทางบริหารธุรกิจ ๑๑.ปริญญาทางนิติศาสตร์


๒.ปริญญาทางศิลปศาสตร์ ๑๒.ปริญญาทางสังคมสงเคราะห์

๓.ปริญญาทางการศึกษา ๑๓.ปริญญาทางสุขศึกษา

๔.ปริญญาทางบัญชี ๑๔.ปริญญาทางพาณิชยศาสตร์

๕.ปริญญาทางเศรษฐศาสตร์ ๑๕.ปริญญาทางพัฒนาชุมชน

๖.ปริญญาทางนิเทศศาสตร์ ๑๖.ปริญญาทางการเงินและการธนาคาร

๗.ปริญญาทางรัฐศาสตร์ ๑๗.ปริญญาทางปรัชญา

๘.ปริญญาทางครุศาสตร์ ๑๘.ปริญญาทางภูมิศาสตร์

๙.ปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ๑๙.ปริญญาทางจิตวิทยา

๑๐.ปริญญาทางสังคมวิทยา ๒๐.ปริญญาทางอักษรศาสตร์

การกำหนดตำแหน่งสายผู้ปฏิบัติสูงกว่าสายผู้บริหาร ได้หรือไม่

คำตอบอยู่ในหลักเกณฑ์ของ ก.จังหวัด เช่น

ข้อ 191 การเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นสำหรับตำแหน่งที่กำหนด


เป็นตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ ในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3

(1) ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ 3 - 5 หรือ

6 (ว) หรือ 7(ว) หรือ 7(วช.)

สำหรับระดับ 7(ว) ให้มีการประเมินเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งก่อน

ทั้งนี้การกำหนดระดับตำแหน่งที่จะปรับปรุงต้องไม่สูงกว่าระดับตำแหน่งของหัวหน้า


หน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่าที่พนักงานส่วนตำบลตำแหน่งนั้นสังกัด

ยกเว้นกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดเห็นว่าผู้ดำรงตำแหน่งในสายงานผู้ปฏิบัติในระดับ

6 ว ผู้ใดเป็นผู้มีผลงานและมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็นระดับ 7ว

หรือระดับ 7วช ให้องค์การบริหารส่วนตำบลเสนอขอปรับปรุงระดับตำแหน่งต่อคณะกรรมการ

พนักงานส่วนตำบล(ก.อบต.จังหวัด)เป็นการเฉพาะราย แม้ว่าเมื่อปรับปรุงระดับตำแหน่งแล้วจะมีระดับ


ที่สูงกว่าหัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่า

ตารางขั้นบันได

http://www.ocsc.go.th/ocsccms/uploads/circular/ccl0000335.pdf
เอาไว้ดูอัตราเงินเดือนเมื่อได้รับการเลื่อนระดับ

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์(ต่อ)


สมมุติว่าในรอบ 1 ปี เลื่อนสูงสุดได้ 12% เมื่อเทียบกับระบบเดิมก็คือเลื่อนได้ ปีละ 3 ขั้น โดยประมาณจากการเปรียบเทียบทั้งสามแบบ จะพบว่าแบบที่หนึ่ง นาย ก. ผลงานประจำปี 90% เลื่อนแบบที่หนึ่งได้ 2 ขั้น ส่วนนาย ข. ผลงาน 89% ซึ่งต่างจากนาย ก. เพียงนิดเดียว กลับได้เลื่อน 1 ขั้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโควต้า 2 ขั้น เต็มแล้ว ส่วนนาย ช. ผลงาน 60% ก็ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น เท่ากับนาย ข. เพราะระบบนี้ไม่มี 0.5 ขั้น ถ้าจะให้ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนก็ต้องได้รับอย่างน้อย 1 ขั้นแบบที่สอง นาย ก. ผลงานประจำปี 90% ก็ยังได้ 2 ขั้น ส่วนนาย ข. ผลงาน 89% จากแบบที่หนึ่งซึ่งได้ 1 ขั้น เป็นได้ 1.5 ขั้น ซึ่งสูงขึ้นและใกล้กับนาย ก. มากขึ้น ส่วนนาย ช. ผลงาน 60% จากแบบที่หนึ่งซึ่งได้ 1 ขั้น ลดลงเป็น 0.5 ขั้น ซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดเท่าที่ให้ได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักผลงาน การเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบที่สองจะสะท้อนผลการปฏิบัติงานได้มากกว่าแบบที่หนึ่งแบบที่สาม นาย ก. ผลงานประจำปี 90% ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนรวม 11% นาย ข. ผลงาน 89% ใกล้เคียงกับนาย ก. มาก ก็ได้ 11% เช่นเดียวกัน ส่วนนาย ช. ซึ่งผลงานต่ำจนแทบจะไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนอยู่แล้ว ก็จะได้ 1% ซึ่งคิดแล้วน้อยกว่า 0.5 ขั้นอีก เพราะผลงานต่ำมาก

การเลื่อนเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์


คำถาม
ขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการบางประเภท ผมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องนี้มากนักไม่ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการเลื่อนเงินเดือนจากระบบขั้นไปเป็นระบบเปอร์เซ็นต์มีผลกระทบต่อข้าราชการอย่างไร
คำตอบ
เพื่อเพิ่มความเข้าใจ จะขอยกตัวอย่างเพื่อประกอบ ขอเน้นว่าเป็นตัวอย่างเท่านั้น เพราะยังไม่แน่ใจว่าสูงสุดของข้าราชการแต่ละประเภทเลื่อนได้กี่เปอร์เซ็นต์ สมมุติว่าสูงสุดเลื่อนได้ 12% ในรอบ 1 ปีแบบที่หนึ่ง เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนในระบบเก่าซึ่งเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 1 ครั้งในวันที่ 1 ตุลาคม และเลื่อนได้ 2 อย่าง คือ 1 ขั้น กับ 2 ขั้น เท่านั้น (ไม่นับรวมผู้ที่ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนเพราะผลงานต่ำกว่าเกณฑ์)แบบที่สอง เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในปัจจุบัน คือเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้งในวันที่ 1 เมษายน และ 1 ตุลาคม เป็นระบบ 0.5 ขั้น 1 ขั้น 1.5 ขั้น และ 2 ขั้น ในรอบ 1 ปีแบบที่สาม เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยคิดจากร้อยละของค่ากลางเงินเดือน (Mid Point) ซึ่งจะเลื่อนได้สูงสุดกี่เปอร์เซ็นต์ หรือจะมีค่ากลางกี่ค่า มีค่ากลางบน ค่ากลางล่าง หรือไม่ อัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดกี่บาท ขั้นสูงสุดกี่บาท จะแบ่งข้าราชการเป็นกี่แท่ง แต่ละแท่งมีระดับย่อยกี่ระดับ ก็แล้วแต่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลจะกำหนด

การเลื่อนระดับของข้าราชการส่วนท้องถิ่น






























































































































































































การเลื่อนระดับของข้าราชการส่วนท้องถิ่นมี ๓ ประเภท คือ
(๑)การเลื่อนระดับควบ
(๒)การเลื่อนไหล
(๓)การเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหาร



การเลื่อนระดับควบเป็นการเลื่อนระดับ ๒ ครั้งจากระดับที่บรรจุเช่น
จ.ธุรการ ๑ จะควบ ๑-๒-๓ เลื่อนไหลคือ จ.ธุรการ ๔-๕
จพง.ธุรการ ๒ จะควบ ๒-๓-๔ เลื่อนไหลคือ จพง.ธุรการ ๕-๖
บุคลากร ๓ จะควบ ๓-๔-๕ เลื่อนไหลคือ บุคลากร ๖ว-๗ว

เลื่อนระดับควบยังแบ่งเป็น ควบต้นกับควบปลาย
ควบต้น คือเลื่อนครั้งแรก ต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง เช่น
จ.ธุรการ ๑ ขึ้น จ.ธุรการ ๒
จพง.ธุรการ ๒ ขึ้น จพง.ธุรการ ๓
บุคลากร ๓ ขึ้น บุคลากร ๔

ควบปลายต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับที่จะเลื่อนด้วยเช่น
จ.ธุรการ ๒ ขึ้น จ.ธุรการ ๓
จพง.ธุรการ ๓ ขึ้น จพง.ธุรการ ๔
บุคลากร ๔ ขึ้น บุคลากร ๕

ส่วนการเลื่อนไหลเป็นการเลื่อนนอกระดับควบตามที่ยกตัวอย่าง ต้องมีคุณสมบัติ ๓ อย่าง คือ
๑.มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
๒.มีเงินเดือนปีงบประมาณที่ผ่านมา(และเงินเดือนปัจจุบัน)ตามตารางที่ ก.กลางฯ กำหนด(บางตำแหน่งกำหนดทั้งเงินเดือนปีงบประมาณที่ผ่านมาและเงินเดือนปัจจุบัน บางตำแหน่งกำหนดเฉพาะเงินเดือนปีงบประมาณที่ผ่านมา ต้องดูจากตารางหลักเกณฑ์ ของ ก.จังหวัด)
๓.มีระยะเวลาเกื้อกูล ตามที่ ก.กลางฯ และก.จังหวัดกำหนด (ต้องดูจากตารางของ ก.จังหวัด)เช่น
จ.ธุรการ ๓ ขึ้น จ.ธุรการ ๔ หรือ จ.ธุรการ ๔ ขึ้น จ.ธุรการ ๕
จพง.ธุรการ ๔ ขึ้น จพง.ธุรการ ๕ หรือ จพง.ธุรการ ๕ ขึ้น จพง.ธุรการ ๖
บุคลากร ๕ ขึ้น บุคลากร ๖ว หรือ บุคลากร ๖ว ขึ้น บุคลากร ๗ว