สิทธิพิเศษ.....ฟรี

ถ้าท่านสมัครเป็นสมาชิกผู้ติดตาม

เมื่อมีบทความใหม่ ระบบจะส่งให้ท่านโดยตรง









การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
การกำหนดตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

คำทำนาย:ลองดูว่าจริงแค่ไหน???

คำทำนายที่เคยมีช้านานนัก เริ่มประจักษ์ให้เห็นเร้นไม่ได้



หลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยทำนาย เมื่อถึงปลายรัชกาลผ่านเข้ามา


ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า


พวกกาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา เป็นประชาจนเต็มพระนคร


ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุกสิงขร


ออกพระนามลือชื่อดั่งทินกร องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน

ชาวประชาจะปีติยิ้มสดใส แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น


จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสมจินตนา


จะมีการต่อตีกันกลางเมือง ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า


คอรัปชั่นจะกัดกร่อนทั้งพารา ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร

ข้าราชการตงฉินถูกประณาม สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้


เกิดวิกฤติผิดเพี้ยนโดยทั่วไป โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี


ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว ถ้วนทุกทั่วจะหมุดขุดรูหนี


ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน

พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ

เกิดวิกฤติธรรมชาติอุบาทว์ครัน พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย

แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำระสาย

เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย เลือดเป็นสายน้ำตานองสองแผ่นดิน

ข้าเป็นนายนายเป็นข้าน่าสมเพช ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น

ทั้งพฤฒาอาจารย์ลือระบิล จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสายลม



ความระทมจะถมทับนับเทวศ ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม

คนที่ดีจะก้มหน้าสุดระทม ส่วนคนชั่วหัวร่อร่าทำท่าดัง

จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว ควงคฑามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง


ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง สายน้ำหลั่งกรากเชี่ยวหวาดเสียวใจ

ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืนได้

จะเข้าสู่ยุคมหาชนพาไป เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา

คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา

ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา ยามเมื่อฟ้าศรีทองผ่องอำไพ

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

chaiwath jitta: เมื่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตัดสินแล้ว..นักการเมืองมองอย่างไร?????

chaiwath jitta: เมื่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตัดสินแล้ว..นักการเมืองมองอย่างไร?????

เมื่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตัดสินแล้ว..นักการเมืองมองอย่างไร?????

http://www.thairath.co.th/content/pol/155916http://tnews.teenee.com/etc/64094.html
http://www.thairath.co.th/column/pol/corner/156072
http://www.phuket-job.com/?p=6104

ระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล ข้อ ๔ ความเป็นกลางทางการเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการ

http://www.ocsc.go.th/ocsccms/frontweb/view.jsp?categoryID=CAT0000131&newsID=nws0001920http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=404015&ch=pl1
http://www.thaipost.net/tabloid/311010/29416
http://sara-dede.is.in.th/?md=webboard&ma=showtopic&id=8744
http://61.47.61.3/cfcustom/cache_page/181485.html?bcsi-ac-9D5116798A5BDE99=1C6DD27C00000002tJeHDEcYjXGeaWJSLVmoyfyF3ZBmCwAAAgAAABwmrACEAwAAAAAAALh1AgA=

http://www.ethailand.com/th/news/-101153.html
http://www.dopaperson.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=2569

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

เริ่มมีข้อแตกต่างระหว่างระบบแท่งกับระบบซี

เดิมระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเราจะอิงกับของข้าราชการพลเรือน
ต่อมาเริ่มมีความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นภารกิจ โครงสร้าง อำนาจ หน้าที่
ทำให้มีการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่นกับพลเรือนเริ่มมีความแตกต่าง เช่น การเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหารของท้องถิ่น ข้าราชการพลเรือนไม่มี เป็นต้น
           ต่อมาข้าราชการพลเรือนได้มีการปรับระบบบริหารงานบุคคล ยกเลิกซี ปรับเป็นระบบแท่ง โดยได้นำหลักเกณฑ์สมัยใหม่ที่องค์กรชั้นนำต่างๆใช้กันอยู่ทั่วโลก มาใช้เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป มีวิทยาการสมัยใหม่ มีระบบ internet มีกระแสของการกระจายอำนาจมากขึ้น ฯลฯ
           หากท่านเคยเข้าประชุมประจำปีสันนิบาตเทศบาลที่เมืองพัทยา เมื่อ ๒ ปี ๒ ครั้ง ที่ผ่านมาคงจะจำได้ ว่ามีการนำเสนอการเปลี่ยนระบบซีของท้องถิ่น ให้เป็นระบบแท่งแบบข้าราชการพลเรือน แต่ไม่ใช่เป็นการคัดลอกมา ต้องเป็นระบบแท่งของท้องถิ่นโดยเฉพาะและได้แจ้งให้ทราบว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆย่อมมีผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ แต่เพื่อให้ระบบเดินหน้าต่อไปได้ เราต้องยอมรับข้อจำกัดบางอย่าง และได้แจ้งให้ทราบว่า การเปลี่ยนแปลงของข้าราชการพลเรือนที่เราเห็นในขณะนั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต้องใช้เวลาประมาณ ๔-๕ ปีจึงจะเข้าที่เข้าทาง
           ปรากฏว่ามีอาจารย์ท่านหนึ่ง(ไม่ขอระบุนาม) ได้ขึ้นไปคัดค้านการปรับเข้าแท่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่นบนเวที ทั้งๆที่ตัวเองสอนวิชาพัฒนาชุมชนพัฒนาสังคม ไม่ได้สอนวิชาการบริหารงานบุคคล ไม่ทราบว่ามีความรู้ด้านบริหารงานบุคคลหรือไม่  ซึ่งที่ประชุมในวันนั้น ประมาณ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ คน เห็นด้วยกับอาจารย์ท่านนี้ยืนยันใช้ระบบซีปรบมือกันลั่นทั้งห้องประชุม
            มาถึงวันนี้ จากการที่ปรับเข้าแท่ง ก.พ.ได้ปรับปรุงระเบียบต่างๆไปอีกหลายอย่าง ตัวอย่างเช่นการกำหนดเงินเดือนตามคุณวุฒิและประสบการณ์ ทำให้ผู้ได้รับการบรรจุได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นสูงต่ำไม่เท่ากัน เป็นต้น กรณีอย่างนี้ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นก็อยากจะทำแบบ ก.พ.แต่ตัวเองยังใช้ระบบเก่า อยู่ ระเบียบต่างๆก็ยังเป็นระเบียบเก่า อัตราเงินเดือนก็เป็นบัญชีแบบเก่า ซึ่งระบุตัวเลขเงินเดือนไว้ชัดเจน ไม่ได้เป็นเงินเดือนแบบขั้นสูงขั้นต่ำแบบ ก.พ.  การจะไปกำหนดเงินเดือนไม่เท่ากันแบบที่ ก.พ.ทำก็ทำไม่ได้ จึงค่อนข้างลำบากที่จะไปเลียนแบบการบรรจุแบบ ก.พ.
             กล่าวโดยสรุป การเปลี่ยนแปลงภาระหน้าที่การงาน การปรับปรุงระบบการทำงาน ระบบการประเมินผล และสิทธิประโยชน์์ต่างๆ ทำให้ต้องปรับปรุงระบบซีเป็นระบบแท่ง แต่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นไม่ยอมปรับปรุงตามแนวทางดังกล่าว แต่ต้องการสิทธิประโยชน์ให้เทียบเท่าข้าราชการพลเรือน ก็ลองคิดดูว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
            วันนี้ขอคุยเพียงเท่านี้ก่อน ว่างๆจะเข้ามาคุยใหม่
 อย่าลืมเข้าไปดููผลการวิจัยการปรับเข้าแท่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเว็ป สำนักงาน ก.ถ.นะครับ
นายชัยวัฒน์ จิตตเมตตากุล
นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ(๘ว.)
หัวหน้ากลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปริญญาทางสังคมศาสตร์ ได้แก่ปริญญาอะไรบ้าง

๑.ปริญญาทางบริหารธุรกิจ ๑๑.ปริญญาทางนิติศาสตร์


๒.ปริญญาทางศิลปศาสตร์ ๑๒.ปริญญาทางสังคมสงเคราะห์

๓.ปริญญาทางการศึกษา ๑๓.ปริญญาทางสุขศึกษา

๔.ปริญญาทางบัญชี ๑๔.ปริญญาทางพาณิชยศาสตร์

๕.ปริญญาทางเศรษฐศาสตร์ ๑๕.ปริญญาทางพัฒนาชุมชน

๖.ปริญญาทางนิเทศศาสตร์ ๑๖.ปริญญาทางการเงินและการธนาคาร

๗.ปริญญาทางรัฐศาสตร์ ๑๗.ปริญญาทางปรัชญา

๘.ปริญญาทางครุศาสตร์ ๑๘.ปริญญาทางภูมิศาสตร์

๙.ปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ๑๙.ปริญญาทางจิตวิทยา

๑๐.ปริญญาทางสังคมวิทยา ๒๐.ปริญญาทางอักษรศาสตร์

การกำหนดตำแหน่งสายผู้ปฏิบัติสูงกว่าสายผู้บริหาร ได้หรือไม่

คำตอบอยู่ในหลักเกณฑ์ของ ก.จังหวัด เช่น

ข้อ 191 การเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นสำหรับตำแหน่งที่กำหนด


เป็นตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ ในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3

(1) ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 กำหนดเป็นตำแหน่งระดับ 3 - 5 หรือ

6 (ว) หรือ 7(ว) หรือ 7(วช.)

สำหรับระดับ 7(ว) ให้มีการประเมินเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งก่อน

ทั้งนี้การกำหนดระดับตำแหน่งที่จะปรับปรุงต้องไม่สูงกว่าระดับตำแหน่งของหัวหน้า


หน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่าที่พนักงานส่วนตำบลตำแหน่งนั้นสังกัด

ยกเว้นกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดเห็นว่าผู้ดำรงตำแหน่งในสายงานผู้ปฏิบัติในระดับ

6 ว ผู้ใดเป็นผู้มีผลงานและมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็นระดับ 7ว

หรือระดับ 7วช ให้องค์การบริหารส่วนตำบลเสนอขอปรับปรุงระดับตำแหน่งต่อคณะกรรมการ

พนักงานส่วนตำบล(ก.อบต.จังหวัด)เป็นการเฉพาะราย แม้ว่าเมื่อปรับปรุงระดับตำแหน่งแล้วจะมีระดับ


ที่สูงกว่าหัวหน้าหน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่า